Dystopian Novels แนะนำหนังสือขายดีในอเมริกา และ(กำลังจะ)ขายดีในไทย

เมื่อใครๆก็พูดถึง Animal Farm ซึ่งเป็นหนังสือดีเรื่องนึงที่ควรค่ากับการอ่านตามที่นายกประยุทธ์ได้แนะนำ ผู้เขียนเองก็เลยอยากจะแนะนำหนังสือ style ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีผู้อ่านบางกลุ่มจัดหนังสือเหล่านี้ในหมวด “Dystopian Novels”

books politics series

หนังสือกลุ่มนี้มี 3 เรื่อง ที่ขอนำเสนอ

2 ใน 3 เป็นผลงานของ  George Orwell นั่นคือ “Animal Farm” และ “1984” และอีกเรื่องเป็นงานของ Ray Bradbury “Fahrenheit 451”  ทั้งสามเรื่องเล่าถึงสังคมที่น่าหวาดกลัวภายใต้การปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ และใช้คำเก๋ๆเรียกว่า Dystopia (อ่านว่า ดิส-โท-เปีย)  ซึ่งตรงข้ามกับสังคมในอุดมคติที่เต็มไปด้วยความสงบสุข หรือ Utopia (อ่านว่า ยู-โท-เปีย)

มาฟังเรื่องราว ความเหมือนและความต่างของงานเขียนเหล่านี้กันค่ะ  (ขอออกตัวไว้ก่อนนะคะว่าผู้เขียนอ่านนิยายทั้งสามเรื่องนี้นานมากแล้ว และเป็นการตีความผ่านมุมมองและประสบการณ์ของผู้เขียนเอง)

ในขณะที่เมืองไทยสนใจ Animal Farm หารู้ไหมว่าเมื่อสองปีก่อนในยุคที่ประธานาธิบดี Trump ได้รับตำแหน่งใหม่ๆ หนังสือยอดฮิตของชาวอเมริกันคือผลงานของ George Orwell เช่นกัน แต่เป็นเรื่อง “1984” ซึ่งตัวเอกของเรื่อง Winston Smith นำเราเข้าไปรู้สึกถึงความน่ากลัวของสังคมที่ปกครองโดย Big Brother (องค์กร หรือ พรรคที่ปกครองสังคมนั้น)  Winston นำผู้อ่านไปประสบกับเหตุการณ์ที่น่าอึดอัด ถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา และยิ่งไปกว่านั้นคือความรู้สึกหรืออารมณ์ด้านบวก เช่น การรัก การสนับสนุน ถูกมองเป็นสิ่งต้องห้าม Winston ในเรื่องถูกจับและผ่านกระบวนการทรมานและล้างสมอง (ฺBrainwash) เพื่อให้เคารพและเชื่อฟังท่านผู้นำ ซึ่งทำได้สำเร็จ ทำให้ Winston ระลึกเสมอว่า “Big Brother is watching you.”  นั่นคือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนคุณก็จะถูกจ้องมองและควบคุมเสมือนถูกกักขัง

51aY6mIa0ZL._SX340_BO1,204,203,200_
“Big Brother Is Watching You.” หนึ่งในหน้าปก 1984 ที่ชอบ 1984  (NOUVELLE TRADUCTION) จาก amazon.ca

ท่านผู้นำแห่ง Big Brother ได้พร่ำบอกว่าทั้งหมดทำเพื่อผลดีที่จะเกิดกับประชาชน เราจึงควรจัดการกับ “thought crime” หรือ “อาชญากรรมแห่งความคิด” พูดง่ายๆว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว 

อีกเล่มหนึ่งที่สะท้อนสังคมในภาพใกล้เคียงกับ  1984 มากๆ คือ ผลงานของ Ray Bradbury’s Fahrenheit 451 ผู้เขียนชอบเล่มนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมีความดราม่าเรื่องความรักเล็กน้อยของตัวเอก คือ Guy Montag  ประเด็นคล้ายอีกอย่างกับ 1984 คือ อารมณ์ด้านบวก เช่น ความรัก ได้ถูกกดทับไว้ไม่ให้รู้สึกหรือแสดงออก หรือ อาจจะไม่รู้ตัวว่ารู้สึกเพราะไม่เคยชินว่าเคยเห็นมันในสิ่งแวดล้อมรอบตัว สังคม Dystopia ที่ Guy Montag อยู่ ก็เลวร้ายไม่ต่างจาก 1984 หนังสือจากบ้านทุกหลังถูกเผาทิ้งแทบไม่มีเหลือ เพราะเกรงว่าจะเป็นแหล่งสร้าง “evil ideas” ให้กับคนในสังคม

51GgqqyJIwL._SX347_BO1,204,203,200_
Fahrenheit 451 (French Edition) Cover from Amazon.com

ถ้าคนอ่านหนังสือจะต้องรู้สึกดีกับเรื่องราวหรือสิ่งของจากการอ่าน ก็เผามันทิ้งซะ สังคมที่ผาสุขและมีอารยธรรมจะต้องไม่มีการถูกรบกวน ยุแยง ปลุกปั่น

quote

อย่าเพิ่งเศร้าไปนะคะ แม้ตัวเอกของทั้งสองเรื่องจะพาเราไปสู่โลกที่น่าอึดอัด ลองอ่านนิยายแล้วมองกลับมาที่ Animal Farm ของเรา จริงๆก็แอบคิดว่า Dystopia era ก็เขมือบเราไปเรื่อยๆแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว (ในที่นี้ขอข้ามการเล่าย่อ Animal Farm เนื่องจากมีคนเล่าเยอะแล้ว)

สิ่งที่แตกต่างระหว่าง Fahrenheit 451 กับ 1984 คือ 1984 เริ่มจากสภาพสังคมที่เสมือนอยู่ท่ามกลางสงคราม ผู้ปกครองชัดเจนว่าเป็น Bad Guy ต้องการกีดกัน บังคับ ทรมาน ล้างสมองและพยายามให้ผู้คนอยู่ในการควบคุมในทุกๆอย่าง รวมทั้งความคิด ส่วน Fahrenheit 451 ไม่แน่ชัดนักว่าผู้ปกครองเป็นตัวร้ายหน้าตาแบบ Trump เพราะในนิยายมักมีเหตุผลให้กับการกระทำเสมอ เช่น เผาหนังสือเพราะเชื่อว่าสังคมแห่งอารยะควรจะมีทิศทางเดียวกันไม่ควรจะต้องมาถูกปลุกปั่น

ก็น่าสนใจทีเดียวเมื่อมองกลับมาที่สังคมไทยเรา ณ ตอนนี้

ฺBy SupaDaow

บันทึกนี้เมื่อวันที่  5 มิถุนายน 2562 ขณะเปิดฟังประชุมสภาเพื่อหานายกรัฐมนตรีคนที่ 30