Lesson Study (ไม่)ใช่สำหรับทุกคน

 

ทำไมเราถึงใส่ใจกระบวนการสะท้อนกลับเพื่อพัฒนา หรือ constructive feedback มากนัก ในเมื่อถ้ามีครูคนใดที่ไม่ชอบฟังการสะท้อนในเรื่องการทำงานของตน เค้าคนนั้นก็ไม่น่าจะไปรอดในวง Lesson Study

ประโยคนี้เป็นเหตุเกิดจากการได้เข้า workshop Lesson Study ที่จัดโดย สสวท. ซึ่งได้รับความรู้มากมาย รวมทั้งมุมมองแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการผลิตครู ในสายวิทย์คณิต

แม้จะเคยผ่าน Lesson Study มาบ้างแล้ว จากการ implement เอง ตามคัมภีร์ของ Takahashi, A., & Yoshida, M. (2004) แต่ถ้าถามว่าเห็นความสำเร็จภายในปีแรกที่ทำไหม ตอบเลยว่า “ไม่” อาจมีครูส่วนหนึ่ง เพียง  10% ที่อยากให้กระบวนการนี้มีอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่มีทั้งเวลา และ แรงผลัก มากพอทำให้คำว่า “ต่อเนื่อง” เกิดขึ้นจาก passionate goal setting (การตั้งเป้าหมายที่มาจากความอยากได้ใคร่ทำ) เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก ว่าแต่…. Lesson Study คืออะไร?

“Lesson study is a professional development process that Japanese teachers engage in to systematically examine their practice.  The goal of lesson study is to improve the effectiveness of the experiences that the teachers provide to their students.”  —Lesson Study Research Group (LSRG), Teachers College, Columbia University

แปลให้ตรงตัวที่สุด คือ กระบวนการพัฒนาเชิงวิชาชีพที่ครูชาวญี่ปุ่นได้ร่วมกันรศึกษาการปฏิบัติการสอนในห้องเรียน

สิ่งที่เน้นเป็นตัวหนังสือสีแดงส่วนแรก คือ การพัฒนาเชิงวิชาชีพ (Professional Development: PD) ซึ่งก็คือสิ่งที่ระบบการศึกษาไทยโปรโมทให้ครูไทยทำเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผ่านโครงการคูปองครู เพื่อให้ครูได้พัฒนาเชิงวิชาชีพ หรือ นโยบาย PLC การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ แน่นอนว่าสร้างไปเพื่อพัฒนาวิชาชีพของเรา คือ วิชาชีพครู หาใช่สิ่งอื่นใดไม่

สิ่งที่เน้นเป็นตัวหนังสือสีแดงส่วนที่สอง คือ เป้าหมายของ Lesson Study นั่นคือ การพัฒนาประสิทธิผลของการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน หรือ กล่าวอีกนัย (ซึ่งตีความเอง) คือการศึกษาและพัฒนาการสอนให้นักเรียนได้ประสบการณ์ที่สร้างความหมายในการเรียนรู้

The core activity in lesson study is for teachers to collaboratively work on a small number of “study lessons”.  These lessons are called “study” lessons because they are used to examine the teachers’ practice.

หัวใจของการทำ Lesson Study คือ การทำงานร่วมกันของครูในการศึกษาแผนการสอน แผนการส่วนนี้จึงเรียกว่า “Study Lesson” แผนที่เราศึกษาร่วมกัน และ จะใช้มันเพื่อจะตรวจสอบและปรับปรุงการสอนของเราหรือเพื่อนครูในกลุ่ม

Slide2.JPG

ซึ่งกระบวนการของ Lesson Study ตามแนวทางของวิทยากร และ อาจารย์จาก Teacher College, Columbia University เป็นดังนี้

lesson study planlesson study process

จะเห็นได้ว่า การได้มาซึ่งการพัฒนาเชิงวิชาชีพ ต้องการการปฏิสัมพันธ์ที่มุ่งไปที่เป้าหมาย การวางแผน สังเกตชั้นเรียน ตลอดจนการสะท้อน เป็นการมองหาสิ่งที่เติมเต็มได้จากมุมมองที่หลากหลายของเพื่อนร่วมวง Lesson Study ด้วยเหตุนี้เอง การสะท้อน จึงนับว่าสำคัญ

ในช่วงต้นของ workshop Lesson Study ของ สสวท. อาจารย์ Noriyuki วิทยากร ได้ถามคำถามที่น่าสนใจทีเดียว เพื่อเปิดประเด็นนำไปสู่รากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่าเหตุใด Lesson Study จึงประสบความสำเร็จ

Why do teachers become teachers? เหตุใดครูจึงมาเป็นครู

1) To become rich and have gorgeous life style?  อยากมีฐานะดี มีชีวิตสบาย
2) To help students win academic competition ? อยากช่วยนักเรียนให้แข่งชนะ
3) To help students become economically successful ? อยากให้นักเรียนประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ
4) To enhance the national level performance of students
so that the entire nation can be prosperous? อยากเพิ่มศักยภาพของนักเรียนทำให้ประเทศรุ่งเรือง
5) To help students grow not only academically but also
socially and personally? อยากให้นักเรียนได้เติบโต ไม่ใช่แค่ในด้านวิชาการเท่านั้น แต่ในด้านการพัฒนาตัวบุคคลและการอยู่ในสังคม
6) To help students have happy and satisfying life? เพื่อช่วยให้นักเรียนมีชีวิตเป็นสุขเป็นที่พึงพอใจ

คำถามเชิงสะท้อนตนเองเหล่านี้ ถูกถามเพื่อที่จะบอกว่าเราควรจะตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราอยากพัฒนาตนเองไปเพื่ออะไร เราอยากทำ Lesson Study เพื่ออะไร (เพื่อตำแหน่ง เพื่อวิทยฐานะ เพื่อการงานที่มั่นคง เงินเดือนที่สูงขึ้น เพื่อให้คะแนน o-net ของโรงเรียนดีขึ้น เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จ เพื่อให้นักเรียนเป็นสุข หรือ อื่นๆ)

สิ่งนั้นแหละจะบอก Passionate Goal Setting ของเรา ว่าสอดคล้องกับเป้าหมายของ Lesson Study มากน้อยเพียงใด และมั่นคงพอที่จะเป็น Agreed Educational Goal (สิ่งที่เห็นร่วมกันว่าเราต้องการเรียนรู้) เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ Lesson Study

lesson study waseda

อาจารย์ท่านเล่าว่า Lesson Study ถูกสร้างบนพื้นฐานของวัฒนธรรมของการมีความเข้มแข็งของครูญี่ปุ่นที่เคารพตนเอง ให้เกียรติทั้งตนเองและผู้อื่น และนำไปสู่การพัฒนาตนเองที่เริ่มจากตัวเองเป็นคนสร้างเป้าหมาย แต่การที่บุคลิกนี้ถูกสร้างในครูญี่ปุ่นหมู่มาก เพราะมันคือวัฒนธรรมของคนในประเทศ

หันกลับมามองที่เมืองไทยบ้าง มี feedback จากอาจารย์ท่านนึงฟังแล้วสะดุดมาก คือ แอบพยักหน้าตามเบาๆ อาจารย์ท่านยกมือและพูดว่า

“Why do we care so much about constructive feedback? If that person doesn’t want to hear feedback, he or she should not be in the lesson study.”

ทำไมเราถึงใส่ใจกระบวนการสะท้อนเพื่อพัฒนามากนัก ในเมื่อถ้ามีครูคนใดที่ไม่ชอบฟังการสะท้อนการทำงานของตน เค้าคนนั้นก็ไม่น่าจะไปรอดในวง Lesson Study

คือก็แอบเห็นด้วยเบาๆ นะ ในเมื่อเค้าไม่ชอบฟัง feedback ใจเค้าปิด นั่นก็หมายความว่าเค้าไม่ได้อยากพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นครูของนักเรียนอย่างแท้จริง ให้ธรรมชาติช่วยกรองคนที่ไม่ใช่ออกไป ก็จะเหลือคนที่ใช่ที่แท้จริง

แต่นั่นคือการมองระบบแบบ Bottom-up คือ ไม่ต้องสั่ง ฉันมาเอง ถ้ามีคนแบบฉันเยอะๆมันจะเป็นกลุ่มก้อนที่แข็งแรงเอง (แต่…มันจะแข็งแรงจริงเหรอ…คนแบบนั้นมีเยอะไหม?)

จากข้อสันนิษฐานของการใช้ Lesson Study ในบริบทไทย คนแบบนี้อาจมีไม่เยอะ จึงต้องใช้นโยบาย คำสั่งผู้บังคับบัญชา และ เงินเป็นแรงผลักดัน  เราก็จะได้กลุ่มที่ไม่ได้อินนักแต่มาตามคำสั่งแบบ Top-Down  การทำให้คนกลุ่มนี้ sustain ไม่หนีไปจากวัฏจักร Lesson Study ก็คือ การพูดสะท้อนแบบถนอมน้ำใจ สะท้อนกลับอย่างมีเหตุผลและมีความเป็นกัลยาณมิตรมากๆๆๆ เพราะไม่มีใครอยากถูกตำหนิว่าสอนไม่ดี สอนห่วย และจะไม่มาเปิดห้องเรียนให้ด่าฟรีอีกแล้วววว

คำถามคือ วัฒนธรรมของเรา สังคมครูของเรา เป็นไปได้ไหม ที่จะทำให้ Lesson Study แบบ Top-Down มีความยั่งยืน การสอนและสร้าง workshop ในการสะท้อนเพื่อพัฒนา หรือ constructive feedback เพียงพอหรือไม่ feedback ตามรูปด้านล่าง ฟังแล้วระคายใจไหม หรือ lesson study ควรเริ่มต้นจากอะไรดี

(จริงๆก็แอบมีคำตอบไว้ในใจบ้างแล้ว ขอไปลองทำก่อนจะมาแชร์นะคะ)

Slide3

ป.ล. บทความที่เขียนทั้งหมดเป็นการตีความและความเห็นส่วนตัวนะคะ ซึ่งมันอาจจะมีช่วงระยะเวลาของมัน เพราะผู้เขียนมีประสบการณ์ในวงการศึกษายังอ่อนด้อยนัก หากในวันข้างหน้ามีประสบการณ์มากกว่านี้กลับมาอ่าน ความคิดอาจเปลี่ยนไป

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้

By SupaDaow

Slide1