Unplugged Data Science for High School เข้าใจวิทยาศาสตร์ข้อมูลก่อนพุ่งตัวไปที่ AI

คราวก่อนได้เขียนสะท้อนการจัด workshop  AI (Artificial Intelligent หรือ ปัญญาประดิษฐ์) ให้กับครูจากหลากหลายสาขา มีทั้งที่มีประสบการณ์มาบ้าง และ มีทั้งที่ไม่มีประสบการณ์เลยอย่างครูปฐมวัย ครูศิลปะ ครูสังคม ครูภาษาไทยก็มี ทำให้รับทราบว่ามีอยู่หลายคนทีเดียวที่คิดว่า “AI คือ หุ่นยนต์” “AI คือ คล้ายๆกับเทคโนโลยีในหนัง Iron Man” “AI คือ สิ่งประดิษฐ์ที่จะมาทำงานแทนคน”  (Workshop AI สำหรับครู ณ มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ ภาพบรรยากาศ และ เนื้อหาบางส่วน )  อันที่จริงผู้เขียนเองก็ไม่ได้จะมาให้คำตัดสินว่าอะไร “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” แต่อยากให้ผู้ที่สนใจคำใหม่ๆที่เข้ามาในบริบทยุค Technological Disruption ได้เริ่มมองทุกอย่างแบบที่นักวิทยาศาสตร์มอง คือ สังเกต  ตั้งคำถาม/ข้อสันนิษฐาน ตรวจสอบ และสืบค้น แต่การตรวจสอบในบริบทของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลอาจจะไม่ใช่แค่เพื่อสืบค้นหาความจริง (Truth) แต่เป็นการตรวจสอบข้อสันนิษฐานเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ (New Knowledge) ในที่นี้อาจตีความได้หลากหลาย เช่น ความเข้าใจในข้อมูลที่ลึกซึ้ง หรือ model ความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการสร้าง algorithm ในการตัดสินใจ หรือ เพื่อสื่อสาร

ดังนั้นใน workshop เข้าใจ Data Science and Machine Learning ในแบบ unplugged ที่ได้จัดให้น้องๆ ม. 4 โรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ จ.สงขลา จึงเน้นที่กระบวนการวิทย์เป็นหัวใจ และก็ย้ำเสมอว่า “Data Science is Science”.

เรายังคงใช้ความสนใจใคร่รู้และกระบวนการตรวจสอบข้อสันนิษฐานในแบบนักวิทยาศาสตร์มาเพื่อหาความรู้ แบบรูป หรือ ความสัมพันธ์ ที่มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น เพื่อนำไปสู่กลไกการตัดสินใจที่เป็นระบบ ดังนั้นรูปแบบ data science project จึงต้องประกอบไปด้วยหลายทักษะ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการข้อมูลด้วยเครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติ ทักษะการพัฒนาโปรแกรมในการจัดการข้อมูล ตรวจสอบความเชื่อมั่นและเที่ยงตรง รวมถึงความเข้าใจโครงสร้างของข้อมูล ที่มาของข้อมูล และการสื่อสาร

ด้วยเหตุนี้ Data Science Project จึงมัก

  • Reproducible ทำซ้ำได้ —  เ่ช่น ข้อมูลชุดใหม่ model เดิม วิธีการเดิม ก็ยังใช้ได้
  • Fallible ผิดพลาดได้ — เช่น model เดิม อาจมี bug ที่ต้องแก้ไข เมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มเข้ามา
  • Collaborative ต้องการเพื่อนร่วมงานจากหลายความเชียวชาญ — เช่น ที่มาของข้อมูล เราไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง ถาม domain expert ดีที่สุด
  • Creative มีความสร้างสรรค์ — เช่น มองในมุมที่หลากหลาย เพื่อการหา hidden message หรือความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่
  • Ethics and Regulation Accepted มีจริยธรรมและเกณฑ์การทำงานเป็นที่ยอมรับ — การทำงาน การได้มาซึ่งข้อมูล ก็ต้องมีความถูกต้องด้วย

ซึ่งก็ไม่ต่างจาก project ทางวิทยาศาสตร์เลย ที่มีขั้นตอนการทดลองที่ทำซ้ำได้ ที่เราอาจจะเจอความผิดพลาด ที่ต้องแก้ไข และต้องการการร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ มีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และถูกต้องตามจริยธรรมในการทดลอง

กล่าวมาถึงตรงนี้ด้วยจุดประสงค์เดียวคือ อยากให้ทุกคนคล้อยตามว่า “Data Science is Science” และมันคงไม่ยากเกินไปสำหรับนักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์มาทั้งชีวิตอย่างเด็กไทยของเรา

datasciproj-01

บทความ Hack and Magnify นี้ ผู้เขียนขอออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้เชียวชาญด้าน AI มากเลย แต่ก็เป็นคนที่ทำงานในสาย data science จริง ในบทบาท Data Analyst จากข้อมูลทางการแพทย์และการตลาด และพยายามสื่อสารสิ่งที่รู้ในสายอาชีพตัวเองให้ออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสร้างแรงบันดาลความสงสัย ซึ่งอาจนำไปสู่บันดาลใจ ในการเอาข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีการตั้งคำถามวิจัยจากข้อมูลที่มี

Series ของกิจกรรมจึงถูกร้อยมาเป็นเรื่องของ (1) การตั้งคำถามและข้อสันนิษฐานของข้อมูล  (2) การเข้าใจกระบวนการ supervised and unsupervised learning และ (3) การใช้ความรู้คณิตศาสตร์จัดการกับข้อมูลที่เราเจอ ดัง 3 กิจกรรมด้านล่างนี้นะคะ (ให้รูปเล่าเรื่องเลยแล้วกันค่ะ)

 

1. Questioning about the Data 

กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการให้ข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพเรขาคณิต (เหตุผลก็คือ ตีความได้หลากหลาย กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และการตั้งคำถามให้กับข้อมูลเชิงรูปภาพนี้) โดยในขั้นแรก อยากให้นักเรียนมองและพิจารณาว่าเราตั้งคำถามอะไรได้บ้างจากข้อมูลนี้ (โดยยังไม่มีการกระทำใดๆนอกจากการ มอง -> คิด -> discuss )

datasciproj-02

เมื่อได้คำถามที่หลากหลาย เราก็เริ่มให้แต่ละกลุ่มได้ตรวจสอบ จากกิจกรรมเห็นนักเรียนหลายกลุ่มเริ่มต้นด้วยการ จับคู่ จัดเรียง จัดประเภท  เพื่อตรวจสอบข้อสันนิษฐานที่มี (และเพื่อความง่ายในการ discuss และ การจัดการ เราก็เลยเตรียมรูปมาให้ได้จัดเรียงและจัดการเลย)  ซึ่ง unplugged activity นี้ นักเรียนเริ่มได้ sense ของ scientific process และ step เล็กๆ ในการ clean and manage data และ ได้ตั้งคำถามย้อนไปถึงสมมติฐานแรกของกลุ่มว่าจะต้องจัดการอะไรเพิ่มเติมบ้าง datasciproj-03

ในวันจัดกิจกรรมมีอาจารย์ที่ร่วมเรียนรู้ไปกับเราและนักเรียนด้วย ท่านชอบกิจกรรมนี้มาก และได้ให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาก โดย ท่านจัดเรียงรูปเรขาคณิต จัดเรียงจำนวนของรูป และ หาความสัมพันธ์กับจำนวนมุมและจำนวนด้าน ออกมาเป็น exponential graph เลยทีเดียว

datasci-proj2.jpg

Key activities ของกิจกรรมนี้คือการตั้งคำถาม หรือ ข้อสันนิษฐานที่มีให้กับข้อมูล การจัดการเพื่อตรวจสอบ และการกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลเดิม ว่าการตรวจสอบที่ได้สมเหตุสมผลหรือไม่ เป็นน้ำจิ้มของการทวนกระบวนการวิทย์กับการทดลองในรูปแบบของ data นั่นเอง

 

2. Supervised and Unsupervised Machine Learning

ในส่วนนี้เราเพิ่ม lecture เข้ามาประกอบเล็กน้อย ว่าด้วยเรื่องเราสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ เหตุการณ์ที่เจอ machine เอง มันก็เรียนได้จากข้อมูลด้วยวิธีการ assimilation and accommodation เช่นเดียวกัน  และก็ให้เด็กๆได้ recall ว่าอันที่จริง เด็กๆก็ใช้ machine learning กันอยู่แล้ว เช่น การทำ linear fit/ linear regression (สำหรับ ม.ปลาย น่าจะได้เรียนแล้ว) และเมื่อมี data point ใหม่เข้ามา (assimilation) เส้น linear fit ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง (accommodation) ทำให้ linear fit ทำหน้าที่ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

dataproj-06

แนะนำ regression methoddatasciproj-05

Hands-on Activity #1 – supervised learning

เริ่มต้นจากการเตรียม กล้วย และ แอปเปิ้ลมาให้ classify กัน กิจกรรมนี้นำไปสู่ supervised machine learning หรือ การเรียนรู้แบบมีผู้สอน โดย ข้อมูลตั้งต้นได้สอนให้ machine รับรู้แล้วว่า สิ่งนี้เรียกว่า “กล้วย” สิ่งนี้เรียกว่า “แอปเปิ้ล”  เรามาสร้างระบบความคิดให้ machine สามารถ classify ได้ดีกว่า ว่า “แบบไหนถึงจะเป็นกล้วย และ แบบไหนถึงจะเป็นแอปเปิ้ล”  เพื่อความง่ายของการเริ่มต้น เราสร้างระบบความคิดนั้นในรูปแบบของแกน x และ แกน y

  • นักเรียนระบุแกนเอง และจัดเรียงข้อมูลที่ได้รับการสอนแล้วว่า “เป็นกล้วยนะ” “เป็นแอปเปิ้ลนะ” (เราเรียกข้อมูลกลุ่มนี้ว่า training set) ไปวางในแกน
  • ลากเส้น classification หรือ เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างกล้วย และ แอปเปิ้ล
  • ให้ข้อมูลชุดใหม่ที่เรียกว่า “testing set” คราวนี้จะให้เพื่อนต่างกลุ่มเอาข้อมูล testing set ไปวางในแกนที่เพื่อนทำไว้ โดยทำตัวเป็น machine คือ วางข้อมูลตามตำแหน่งที่แกนระบุ
  • เจ้าของกลุ่มตรวจสอบเส้น classification ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเพราะอะไร ข้อมูลจาก testing set ส่งผลอย่างไร
  • และจากกิจกรรมนี้คำว่า machine learn คือ learn อะไร

dataproj-07

data science - blog 05

แกน x และ y ก็จะหลากหลายมาก มีทั้งทรงกลม ทรงรี หรือ ละเอียดไปถึงการระบุ RGB ก็มี แค่การคิดแกนของเด็กๆก็น่าสนใจมากทีเดียวdatasciproj-08.jpg

 

Hands-on Activity #2 – unsupervised learning

กิจกรรม unsupervised machine learning นี ก็ทำต่อเนื่องมา แต่มีการให้รูปผักและผลไม้ที่หลากหลายมากขึ้น และ ให้แต่ละกลุ่มสร้าง criteria ในการจัดเรียง หรือ จัดกลุ่มเอาเอง  ในกิจกรรมนี้สิ่งที่เน้นคือ ข้อมูลที่ได้เหล่านี้ยังไม่ถูกสอนมาก่อน ว่า “ฉันคือกะหล่ำ” “ฉันคือฟักทอง” “ฉันคือกล้วย” “ฉันคือแครอท”  นักเรียนสามารถสร้างเกณฑ์ในการพิจารณาเอง

datasciproj-09

บางกลุ่มก็แบ่งได้หลากหลาย แบ่งตามสี และแบ่งย่อยไปเป้นตามขนาด ตามปริมาณ fiber ก็มี และก็มีบางกลุ่มทำออกมาเป็น dendogram เลย คือ เป็นในรุปแบบของ tree-structure น่าสนใจมากทีเดียว

จากนั้นเราก็มาตั้งคำถามกันว่า ถ้าเราอยากให้ machine จัดการข้อมูลให้เราสามารถเลือกผลไม้ไปสกัด เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) machine learning ของกลุ่มใดมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด และกลับไปถามกลุ่มนั้นว่ามีขั้นตอน หรือ เกณฑ์อะไรในการจัดการข้อมูลให้ออกมาในรุปแบบนี้

(ป.ล. ไม่มีรูปใน activity นี้จริงๆ ด้วยความที่เร่งเวลา ไว้มีจะหามาแปะนะคะ)

 

3. Words to Vectors, Messages and Relations

มาถึงกิจกรรมใหม่ถอดด้าม ที่เพิ่งจะได้ลองเล่นเป็นครั้งแรก ด้วยจุดประสงค์ที่เราอยากให้ data science and machine learning ใกล้ตัวเข้ามาอีกนิด เราเลยเอา word-to-vector idea มาทำ unplugged activities

words2vec01datasciproj-10

  • เริ่มต้นด้วยการ blind arrangement โดยเรามีแถบสีที่ run number ไว้ให้ตรงกับคำศัพท์ที่แทนคนหรือสัตว์ต่างๆ ให้ลองแยกจากค่าของ vector ก่อน (ในที่นี้คือสีและความเข้มของสี) นักเรียนจะไม่รู้เลยว่าแถบสีนั้นแทนอะไร
  • ตรวจสอบการจัดกลุ่มหาความสัมพันธ์ของแถบสีกับความหมายจริง เช่น “แถบสีเบอร์ 1 แทน Dog” “แถบสีแบอร์ 3 แทน cat” ซึ่งเราวางจัดกลุ่มให้มีความใกล้เคียงกัน
  • สำรวจแถบสีกับคำง่ายๆ เช่น King, Man, Woman, Queen เพื่อเรียนรู้การหาความเหมือนและต่างของคำศัพท์ สกัด feature และใส่ค่าของ vector value ในแต่ละตำแหน่ง feature
  • หา similarity value (ซึ่งในการวิเคราะห์จริงทำได้หลายวิธี จะใช้ correlation ก็ได้ แต่เพื่อให้เหมาะกับช่วง ม.ปลาย เราเลยเลือกใช้ dot product) หลังจากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มลองสำรวจความสัมพันธ์ของคำ กับ similarity value อีกครั้งdatasciproj-11

กิจกรรมนี้ดูยากทีเดียวในการตีความคำศัพท์เป็น vector format ถ้ามีโอกาสได้ลองอีกจะปรับตัวอย่างใหม่อีกนิดและมีการเชื่อมกับโจทย์จริงๆบ้าง เช่น post ต่างๆ ตาม social media เป็นต้น

สิ่งที่คาดหวังจากกิจกรรมที่ 3 นี้ คือ นักเรียนก็ได้เชื่อมโยงกับการให้ความสัมพันธ์ข้อมูล text ในแบบ Qualitative ที่สามารถจัดการได้ในรูปแบบของ Quantitative data หรือ ในเชิงปริมาณได้ ทำให้เปิดมุมมองในการมองข้อมูลของนักเรียนอีกด้าน ว่าเราเปลี่ยน words เป็น vectors และจัดการกับมันได้ด้วยเครื่องมือทางสถิติและคณิตศาสตร์

พยายามจะเล่าให้เข้าใจแต่ไม่ให้ยาวแล้วนะคะ แต่ก็ยาวจนได้

จากกิจกรรมครั้งนี้เราเลือกที่จะปิดท้ายด้วยการที่เรามีมุมมองกับข้อมูลที่หลากหลาย ข้อมูลเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ไม่แน่นอน มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ซึ่งก็เป็นคำตอบว่าทำไมในยุคนี้ถึงเรียกว่ายุค Big Data เพราะ sensor มีอยู่ทุกที่ และเชื่อมโยงกันจนในแต่ละวินาทีมีข้อมูลมากมายถูก generate ออกมาจากทุกๆการกระทำ และ ทุกๆการเคลื่อนไหวของเรา  ค่าของข้อมูลเหล่านี้อยู่ที่การที่เราสามารถนำไปใช้เพื่อทำนาย ตัดสินใจในการกระทำในอนาคตที่จะทำให้เราผิดพลาดน้อยลง และมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นได้หรือไม่ หรือ เป็นฐานนำไปสู่การกระทำที่มาจากการเรียนรู้ข้อมูล ใช้เป็นกลไกในการสร้างเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการทำงานที่จำลองปัญญาของมนุษย์ (AI: Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ นั่นเอง

หวังว่าการถอดปลั๊กออกมาจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ

datasciproj-04

Written by SupaDaow

Activities created and implemented by Suparat C. and Artorn N.

Lesson Study (ไม่)ใช่สำหรับทุกคน

 

ทำไมเราถึงใส่ใจกระบวนการสะท้อนกลับเพื่อพัฒนา หรือ constructive feedback มากนัก ในเมื่อถ้ามีครูคนใดที่ไม่ชอบฟังการสะท้อนในเรื่องการทำงานของตน เค้าคนนั้นก็ไม่น่าจะไปรอดในวง Lesson Study

ประโยคนี้เป็นเหตุเกิดจากการได้เข้า workshop Lesson Study ที่จัดโดย สสวท. ซึ่งได้รับความรู้มากมาย รวมทั้งมุมมองแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการผลิตครู ในสายวิทย์คณิต

แม้จะเคยผ่าน Lesson Study มาบ้างแล้ว จากการ implement เอง ตามคัมภีร์ของ Takahashi, A., & Yoshida, M. (2004) แต่ถ้าถามว่าเห็นความสำเร็จภายในปีแรกที่ทำไหม ตอบเลยว่า “ไม่” อาจมีครูส่วนหนึ่ง เพียง  10% ที่อยากให้กระบวนการนี้มีอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่มีทั้งเวลา และ แรงผลัก มากพอทำให้คำว่า “ต่อเนื่อง” เกิดขึ้นจาก passionate goal setting (การตั้งเป้าหมายที่มาจากความอยากได้ใคร่ทำ) เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก ว่าแต่…. Lesson Study คืออะไร?

“Lesson study is a professional development process that Japanese teachers engage in to systematically examine their practice.  The goal of lesson study is to improve the effectiveness of the experiences that the teachers provide to their students.”  —Lesson Study Research Group (LSRG), Teachers College, Columbia University

แปลให้ตรงตัวที่สุด คือ กระบวนการพัฒนาเชิงวิชาชีพที่ครูชาวญี่ปุ่นได้ร่วมกันรศึกษาการปฏิบัติการสอนในห้องเรียน

สิ่งที่เน้นเป็นตัวหนังสือสีแดงส่วนแรก คือ การพัฒนาเชิงวิชาชีพ (Professional Development: PD) ซึ่งก็คือสิ่งที่ระบบการศึกษาไทยโปรโมทให้ครูไทยทำเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผ่านโครงการคูปองครู เพื่อให้ครูได้พัฒนาเชิงวิชาชีพ หรือ นโยบาย PLC การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ แน่นอนว่าสร้างไปเพื่อพัฒนาวิชาชีพของเรา คือ วิชาชีพครู หาใช่สิ่งอื่นใดไม่

สิ่งที่เน้นเป็นตัวหนังสือสีแดงส่วนที่สอง คือ เป้าหมายของ Lesson Study นั่นคือ การพัฒนาประสิทธิผลของการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน หรือ กล่าวอีกนัย (ซึ่งตีความเอง) คือการศึกษาและพัฒนาการสอนให้นักเรียนได้ประสบการณ์ที่สร้างความหมายในการเรียนรู้

The core activity in lesson study is for teachers to collaboratively work on a small number of “study lessons”.  These lessons are called “study” lessons because they are used to examine the teachers’ practice.

หัวใจของการทำ Lesson Study คือ การทำงานร่วมกันของครูในการศึกษาแผนการสอน แผนการส่วนนี้จึงเรียกว่า “Study Lesson” แผนที่เราศึกษาร่วมกัน และ จะใช้มันเพื่อจะตรวจสอบและปรับปรุงการสอนของเราหรือเพื่อนครูในกลุ่ม

Slide2.JPG

ซึ่งกระบวนการของ Lesson Study ตามแนวทางของวิทยากร และ อาจารย์จาก Teacher College, Columbia University เป็นดังนี้

lesson study planlesson study process

จะเห็นได้ว่า การได้มาซึ่งการพัฒนาเชิงวิชาชีพ ต้องการการปฏิสัมพันธ์ที่มุ่งไปที่เป้าหมาย การวางแผน สังเกตชั้นเรียน ตลอดจนการสะท้อน เป็นการมองหาสิ่งที่เติมเต็มได้จากมุมมองที่หลากหลายของเพื่อนร่วมวง Lesson Study ด้วยเหตุนี้เอง การสะท้อน จึงนับว่าสำคัญ

ในช่วงต้นของ workshop Lesson Study ของ สสวท. อาจารย์ Noriyuki วิทยากร ได้ถามคำถามที่น่าสนใจทีเดียว เพื่อเปิดประเด็นนำไปสู่รากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่าเหตุใด Lesson Study จึงประสบความสำเร็จ

Why do teachers become teachers? เหตุใดครูจึงมาเป็นครู

1) To become rich and have gorgeous life style?  อยากมีฐานะดี มีชีวิตสบาย
2) To help students win academic competition ? อยากช่วยนักเรียนให้แข่งชนะ
3) To help students become economically successful ? อยากให้นักเรียนประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ
4) To enhance the national level performance of students
so that the entire nation can be prosperous? อยากเพิ่มศักยภาพของนักเรียนทำให้ประเทศรุ่งเรือง
5) To help students grow not only academically but also
socially and personally? อยากให้นักเรียนได้เติบโต ไม่ใช่แค่ในด้านวิชาการเท่านั้น แต่ในด้านการพัฒนาตัวบุคคลและการอยู่ในสังคม
6) To help students have happy and satisfying life? เพื่อช่วยให้นักเรียนมีชีวิตเป็นสุขเป็นที่พึงพอใจ

คำถามเชิงสะท้อนตนเองเหล่านี้ ถูกถามเพื่อที่จะบอกว่าเราควรจะตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราอยากพัฒนาตนเองไปเพื่ออะไร เราอยากทำ Lesson Study เพื่ออะไร (เพื่อตำแหน่ง เพื่อวิทยฐานะ เพื่อการงานที่มั่นคง เงินเดือนที่สูงขึ้น เพื่อให้คะแนน o-net ของโรงเรียนดีขึ้น เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จ เพื่อให้นักเรียนเป็นสุข หรือ อื่นๆ)

สิ่งนั้นแหละจะบอก Passionate Goal Setting ของเรา ว่าสอดคล้องกับเป้าหมายของ Lesson Study มากน้อยเพียงใด และมั่นคงพอที่จะเป็น Agreed Educational Goal (สิ่งที่เห็นร่วมกันว่าเราต้องการเรียนรู้) เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ Lesson Study

lesson study waseda

อาจารย์ท่านเล่าว่า Lesson Study ถูกสร้างบนพื้นฐานของวัฒนธรรมของการมีความเข้มแข็งของครูญี่ปุ่นที่เคารพตนเอง ให้เกียรติทั้งตนเองและผู้อื่น และนำไปสู่การพัฒนาตนเองที่เริ่มจากตัวเองเป็นคนสร้างเป้าหมาย แต่การที่บุคลิกนี้ถูกสร้างในครูญี่ปุ่นหมู่มาก เพราะมันคือวัฒนธรรมของคนในประเทศ

หันกลับมามองที่เมืองไทยบ้าง มี feedback จากอาจารย์ท่านนึงฟังแล้วสะดุดมาก คือ แอบพยักหน้าตามเบาๆ อาจารย์ท่านยกมือและพูดว่า

“Why do we care so much about constructive feedback? If that person doesn’t want to hear feedback, he or she should not be in the lesson study.”

ทำไมเราถึงใส่ใจกระบวนการสะท้อนเพื่อพัฒนามากนัก ในเมื่อถ้ามีครูคนใดที่ไม่ชอบฟังการสะท้อนการทำงานของตน เค้าคนนั้นก็ไม่น่าจะไปรอดในวง Lesson Study

คือก็แอบเห็นด้วยเบาๆ นะ ในเมื่อเค้าไม่ชอบฟัง feedback ใจเค้าปิด นั่นก็หมายความว่าเค้าไม่ได้อยากพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นครูของนักเรียนอย่างแท้จริง ให้ธรรมชาติช่วยกรองคนที่ไม่ใช่ออกไป ก็จะเหลือคนที่ใช่ที่แท้จริง

แต่นั่นคือการมองระบบแบบ Bottom-up คือ ไม่ต้องสั่ง ฉันมาเอง ถ้ามีคนแบบฉันเยอะๆมันจะเป็นกลุ่มก้อนที่แข็งแรงเอง (แต่…มันจะแข็งแรงจริงเหรอ…คนแบบนั้นมีเยอะไหม?)

จากข้อสันนิษฐานของการใช้ Lesson Study ในบริบทไทย คนแบบนี้อาจมีไม่เยอะ จึงต้องใช้นโยบาย คำสั่งผู้บังคับบัญชา และ เงินเป็นแรงผลักดัน  เราก็จะได้กลุ่มที่ไม่ได้อินนักแต่มาตามคำสั่งแบบ Top-Down  การทำให้คนกลุ่มนี้ sustain ไม่หนีไปจากวัฏจักร Lesson Study ก็คือ การพูดสะท้อนแบบถนอมน้ำใจ สะท้อนกลับอย่างมีเหตุผลและมีความเป็นกัลยาณมิตรมากๆๆๆ เพราะไม่มีใครอยากถูกตำหนิว่าสอนไม่ดี สอนห่วย และจะไม่มาเปิดห้องเรียนให้ด่าฟรีอีกแล้วววว

คำถามคือ วัฒนธรรมของเรา สังคมครูของเรา เป็นไปได้ไหม ที่จะทำให้ Lesson Study แบบ Top-Down มีความยั่งยืน การสอนและสร้าง workshop ในการสะท้อนเพื่อพัฒนา หรือ constructive feedback เพียงพอหรือไม่ feedback ตามรูปด้านล่าง ฟังแล้วระคายใจไหม หรือ lesson study ควรเริ่มต้นจากอะไรดี

(จริงๆก็แอบมีคำตอบไว้ในใจบ้างแล้ว ขอไปลองทำก่อนจะมาแชร์นะคะ)

Slide3

ป.ล. บทความที่เขียนทั้งหมดเป็นการตีความและความเห็นส่วนตัวนะคะ ซึ่งมันอาจจะมีช่วงระยะเวลาของมัน เพราะผู้เขียนมีประสบการณ์ในวงการศึกษายังอ่อนด้อยนัก หากในวันข้างหน้ามีประสบการณ์มากกว่านี้กลับมาอ่าน ความคิดอาจเปลี่ยนไป

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้

By SupaDaow

Slide1

Dystopian Novels แนะนำหนังสือขายดีในอเมริกา และ(กำลังจะ)ขายดีในไทย

เมื่อใครๆก็พูดถึง Animal Farm ซึ่งเป็นหนังสือดีเรื่องนึงที่ควรค่ากับการอ่านตามที่นายกประยุทธ์ได้แนะนำ ผู้เขียนเองก็เลยอยากจะแนะนำหนังสือ style ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีผู้อ่านบางกลุ่มจัดหนังสือเหล่านี้ในหมวด “Dystopian Novels”

books politics series

หนังสือกลุ่มนี้มี 3 เรื่อง ที่ขอนำเสนอ

2 ใน 3 เป็นผลงานของ  George Orwell นั่นคือ “Animal Farm” และ “1984” และอีกเรื่องเป็นงานของ Ray Bradbury “Fahrenheit 451”  ทั้งสามเรื่องเล่าถึงสังคมที่น่าหวาดกลัวภายใต้การปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ และใช้คำเก๋ๆเรียกว่า Dystopia (อ่านว่า ดิส-โท-เปีย)  ซึ่งตรงข้ามกับสังคมในอุดมคติที่เต็มไปด้วยความสงบสุข หรือ Utopia (อ่านว่า ยู-โท-เปีย)

มาฟังเรื่องราว ความเหมือนและความต่างของงานเขียนเหล่านี้กันค่ะ  (ขอออกตัวไว้ก่อนนะคะว่าผู้เขียนอ่านนิยายทั้งสามเรื่องนี้นานมากแล้ว และเป็นการตีความผ่านมุมมองและประสบการณ์ของผู้เขียนเอง)

ในขณะที่เมืองไทยสนใจ Animal Farm หารู้ไหมว่าเมื่อสองปีก่อนในยุคที่ประธานาธิบดี Trump ได้รับตำแหน่งใหม่ๆ หนังสือยอดฮิตของชาวอเมริกันคือผลงานของ George Orwell เช่นกัน แต่เป็นเรื่อง “1984” ซึ่งตัวเอกของเรื่อง Winston Smith นำเราเข้าไปรู้สึกถึงความน่ากลัวของสังคมที่ปกครองโดย Big Brother (องค์กร หรือ พรรคที่ปกครองสังคมนั้น)  Winston นำผู้อ่านไปประสบกับเหตุการณ์ที่น่าอึดอัด ถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา และยิ่งไปกว่านั้นคือความรู้สึกหรืออารมณ์ด้านบวก เช่น การรัก การสนับสนุน ถูกมองเป็นสิ่งต้องห้าม Winston ในเรื่องถูกจับและผ่านกระบวนการทรมานและล้างสมอง (ฺBrainwash) เพื่อให้เคารพและเชื่อฟังท่านผู้นำ ซึ่งทำได้สำเร็จ ทำให้ Winston ระลึกเสมอว่า “Big Brother is watching you.”  นั่นคือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนคุณก็จะถูกจ้องมองและควบคุมเสมือนถูกกักขัง

51aY6mIa0ZL._SX340_BO1,204,203,200_
“Big Brother Is Watching You.” หนึ่งในหน้าปก 1984 ที่ชอบ 1984  (NOUVELLE TRADUCTION) จาก amazon.ca

ท่านผู้นำแห่ง Big Brother ได้พร่ำบอกว่าทั้งหมดทำเพื่อผลดีที่จะเกิดกับประชาชน เราจึงควรจัดการกับ “thought crime” หรือ “อาชญากรรมแห่งความคิด” พูดง่ายๆว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว 

อีกเล่มหนึ่งที่สะท้อนสังคมในภาพใกล้เคียงกับ  1984 มากๆ คือ ผลงานของ Ray Bradbury’s Fahrenheit 451 ผู้เขียนชอบเล่มนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมีความดราม่าเรื่องความรักเล็กน้อยของตัวเอก คือ Guy Montag  ประเด็นคล้ายอีกอย่างกับ 1984 คือ อารมณ์ด้านบวก เช่น ความรัก ได้ถูกกดทับไว้ไม่ให้รู้สึกหรือแสดงออก หรือ อาจจะไม่รู้ตัวว่ารู้สึกเพราะไม่เคยชินว่าเคยเห็นมันในสิ่งแวดล้อมรอบตัว สังคม Dystopia ที่ Guy Montag อยู่ ก็เลวร้ายไม่ต่างจาก 1984 หนังสือจากบ้านทุกหลังถูกเผาทิ้งแทบไม่มีเหลือ เพราะเกรงว่าจะเป็นแหล่งสร้าง “evil ideas” ให้กับคนในสังคม

51GgqqyJIwL._SX347_BO1,204,203,200_
Fahrenheit 451 (French Edition) Cover from Amazon.com

ถ้าคนอ่านหนังสือจะต้องรู้สึกดีกับเรื่องราวหรือสิ่งของจากการอ่าน ก็เผามันทิ้งซะ สังคมที่ผาสุขและมีอารยธรรมจะต้องไม่มีการถูกรบกวน ยุแยง ปลุกปั่น

quote

อย่าเพิ่งเศร้าไปนะคะ แม้ตัวเอกของทั้งสองเรื่องจะพาเราไปสู่โลกที่น่าอึดอัด ลองอ่านนิยายแล้วมองกลับมาที่ Animal Farm ของเรา จริงๆก็แอบคิดว่า Dystopia era ก็เขมือบเราไปเรื่อยๆแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว (ในที่นี้ขอข้ามการเล่าย่อ Animal Farm เนื่องจากมีคนเล่าเยอะแล้ว)

สิ่งที่แตกต่างระหว่าง Fahrenheit 451 กับ 1984 คือ 1984 เริ่มจากสภาพสังคมที่เสมือนอยู่ท่ามกลางสงคราม ผู้ปกครองชัดเจนว่าเป็น Bad Guy ต้องการกีดกัน บังคับ ทรมาน ล้างสมองและพยายามให้ผู้คนอยู่ในการควบคุมในทุกๆอย่าง รวมทั้งความคิด ส่วน Fahrenheit 451 ไม่แน่ชัดนักว่าผู้ปกครองเป็นตัวร้ายหน้าตาแบบ Trump เพราะในนิยายมักมีเหตุผลให้กับการกระทำเสมอ เช่น เผาหนังสือเพราะเชื่อว่าสังคมแห่งอารยะควรจะมีทิศทางเดียวกันไม่ควรจะต้องมาถูกปลุกปั่น

ก็น่าสนใจทีเดียวเมื่อมองกลับมาที่สังคมไทยเรา ณ ตอนนี้

ฺBy SupaDaow

บันทึกนี้เมื่อวันที่  5 มิถุนายน 2562 ขณะเปิดฟังประชุมสภาเพื่อหานายกรัฐมนตรีคนที่ 30

 

Making Math Moments Matter — ความเชื่อในการสอนคณิตศาสตร์ที่เปลี่ยนได้

ความ “เชื่อ” ที่ว่าวิธีแบบนี้ดีที่สุด เข้าใจง่ายที่สุด ได้ผลรวดเร็วที่สุด หรือแม้กระทั่งถูกต้องตามหลักการที่สุด  การ “สอน” ที่ผูกความเชื่อบางอย่างของผู้สอนเอาไว้ และผู้สอนก็ตัดสินใจเลือกให้ผู้เรียนเอง

และผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันล่ะ ทั้งพื้นฐานการเรียนรู้ ประสบการณ์เดิม ความรู้ ทักษะ และความสนใจพื้นฐาน เราจะรองรับเค้าด้วยสิ่งที่เรา “เชื่อ” และ “เลือก” ให้แล้ว ได้จริงๆเหรอ

คำถามนี้ไม่ได้เป็นคำถามที่ถามกันแค่ในประเทศไทย เพราะงานวิจัยของ NCTM (National Council of Teachers of Mathematics in USA) ก็ได้กล่าวถึงอุปสรรคในการจัดการห้องเรียนคณิตศาสตร์ว่ามี “Cultural Belief” หรือ ความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมาจนเป็นวัฒนธรรม เป็นก้างชิ้นโต ที่จะทำให้การสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (อ้างอิง: NCTM. (2014). Principles to Actions: Ensuring Mathematical Success for All. Reston, VA: NCTM)

งานวิจัยจากหนังสือของ NCTM เล่มนี้รวบรวม unproductive belief หรือ ความเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด ไว้หลายประเด็น ล้วนแต่เป็นประเด็นที่น่าคิด หากลองเทียบกับ productive belief หรือ ความเชื่อที่ก่อให้เกิดการพัฒนา เราลองมา check กันดูนะคะว่ามีประเด็นใดที่เราเปลี่ยนได้บ้าง

NCTM math obstacle 01

NCTM math obstacle 02

NCTM math obstacle 03

ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ และพิจารณาทั้ง 6 ประเด็น จากประสบการณ์ตนเอง ก็พบว่า ในบางครั้งเราเอาความ “เชื่อ” ของเราไปยึดกับกระบวนการสอน เราเลือกในสิ่งที่นักเรียนไม่ได้เลือก ยกตัวอย่างเช่น

หากมีโจทย์ปัญหา

“กระบะของรถบรรทุกคันหนึ่งวัดความกว้างได้ = 2 เมตร ความยาวได้  = 6 เมตร ความสูงได้ = 2 เมตร รถคันนี้จะบรรทุกกล่องรูปทรงลูกบาศก์ที่มีความจุเท่ากับ  1 ลูกบาศก์ฟุตได้กี่กล่อง”

 

Approach ใดที่เราเลือกจะสอน

  • บอกนิยามและสูตรปริมาตร กว้าง x ยาว x สูง
  • แนะนำให้นักเรียนเปลี่ยนหน่วยก่อน จากฟุตเป็นเมตร
  • ทำให้เป็นตัวอย่างบนกระดานด้วยโจทย์ที่คล้ายกัน และอธิบายวิธีที่ครูคิด
  • ให้อิสระในการคิดหาคำตอบและคอยอำนวยให้เกิดการอภิปรายแลกเปลี่ยน

อันสุดท้ายเหมือนจะทำได้ยากสุด ด้วยความ “เชื่อ” ของเราเองว่า “นักเรียนคงไม่คิดหรอก เค้ารอคำตอบ เค้าเคยชินแบบนั้น” หรือ “นักเรียนคงทำไม่ได้หรอก ก็เค้าไม่รู้นิยามคำว่าปริมาตรมาก่อน”

ลองพิจารณา 6 unproductive beliefs ข้างต้นดูนะคะ ว่ายากเกินไปไหมที่จะเปลี่ยน หากไม่เชื่อว่าเปลี่ยนแล้วจะพัฒนาต่อยอดได้จริง เราควรจะต้องพิสูจน์จากการเลือกของผู้เรียนเอง

ผู้เขียนเองก็ไม่อาจสรุปผลของห้องเรียนใดๆได้ ได้แต่เสนอแนะให้ครูได้ลองพิจารณาความเชื่อข้างต้นว่าหากเราสร้างการอภิปรายที่นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง ความรู้ที่เกิดขึ้นมันจะต่อยอดและยั่งยืนมากกว่าที่เรา “เลือก” ให้ “ง่าย” ต่อเค้าแล้ว จริงหรือไม่

math4all01

math4all04

ความน่าสนใจจะตามมาจากกลวิธีที่ครูเลือกมาใช้ ซึ่งก็อาจจะเป็นวิจัยในชั้นเรียนดีๆสำหรับครูได้เช่นกัน

เริ่มครั้งแรก นักเรียนอาจจะไม่คุ้นชินที่จะต้องคิดเอง พยายามเอง แต่ถ้าได้เริ่มและไม่ท้อในการค่อยๆปรับให้ห้องเรียนมีความคุ้นชินกับการอภิปรายขึ้นทีละนิดๆ คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่มาจากนักเรียน เริ่มจากการให้สื่อที่จับต้องได้ เพื่อเป็นการ scaffold ทีละนิดใช้รูปภาพที่สื่อสาร ใช้ปัญหาที่นักเรียนเชื่อมโยงได้จากประสบการณ์เดิม กระบวนการแก้ปัญหาก็จะมาจากนักเรียนได้เอง ลองเลือกจากบทเรียนที่ครูถนัดที่สุดก่อนนะคะ แค่เริ่มเปลี่ยน “อุปสรรค” ก็เป้น “ความท้าทาย” ที่นำมาสู่การต่อยอดที่ยั่งยืนได้

หากไม่เชื่อก็ท้าให้ลองค่ะ

By SupaDaow

 

เกมพัฒนาแนวคิด VS เกมเพื่อพัฒนาความคล่อง

เกม คือ การเล่นอย่างหนึ่ง ที่มีกรอบกติกา มีเป้าหมาย และการกำหนดจุดจบที่ชัดเจน

จุดเด่นของเกม คือ ผู้เล่นยินยอมอยู่ภายใต้กติกาที่กำหนดด้วยความสมัครใจ

คงจะดีไม่น้อย หากผู้เรียนของเรารู้สึกกับการเรียนเช่นเดียวกันกับการเล่นเกม…

ลักษณะพิเศษของเกม ทำให้เราเห็นการนำเกมเข้ามาประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ใช้พักผ่อนหย่อนใจ ใช้ทลายกำแพงของมิตรใหม่ ใช้ดึงดูดผู้บริโภค หรือ ในปัจจุบันเกมยังถูกนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้

ลักษณะของเกมในปัจจุบันมีความซับซ้อนกว่าแต่ก่อนมาก ไม่ได้พึ่งพาดวงอย่างเดียว หากแต่ยังมีการสร้างข้อจำกัดให้คิด แก้ปัญหา วางแผน และ ตัดสินใจ มาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกเกม และแน่นอนลักษณะดังกล่าวเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นความสนใจ การผ่อนคลาย การพัฒนาแนวคิด การฝึกฝนความคล่อง หรือ การประเมินผู้เรียน ทั้งนี้ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้เกม

จากประสบการณ์การใช้เกมเพื่อการเรียนรู้ ผมขอแบ่งเกมออกตามวัตถุประสงค์ได้ 2 แบบ คือ เกมเพื่อพัฒนาแนวคิด (concept building) และ เกมเพื่อพัฒนาความคล่อง (practicing) โดยได้สรุปลักษณะที่แตกต่างกันของเกมทั้งสองประเภท ดังรายละเอียดในตาราง

game type 01

ในทีนี้จะขอยกตัวอย่าง เกมที่มีรูปแบบแตกต่างกัน

  1. Numblink เป็นเกมง่ายๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ในห้องเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิดเกี่ยวการหาตัวหารร่วมที่มากที่สุด หรือ ห.ร.ม.
  2. Walk my way เป็นเกมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะ หรือ ตรวจความสามารถในการหาตัวหารร่วมที่มากที่สุด โดยที่ผู้เล่นจะต้องมีความรู้เรื่องนี้มาก่อนgame type numblink 01game type numblink 01-5game type numblink 03game type WM 01game type WM 02

ทั้งสองเกมนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาจารย์ดาว (Suparat Chuechote) อาจารย์ด้านคณิตศาสตร์ศึกษาที่ชอบเล่นเกม และใช้เกมเพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ดาวออกแบบให้ง่ายต่อการใช้ในห้องเรียน ไม่มีความซับซ้อนในกติกา บวกกับอุปกรณ์ที่หาง่ายและการ set-up ที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งกลไกเกมยังเอื้อให้นำไปดัดแปลงได้กับเรื่องอื่นๆ เช่น แทนที่จะหา ห.ร.ม. ก็อาจจะเป็น การสร้างสมการ หรือหาความสัมพันธ์ของตัวเลขในรูปแบบอื่นๆ

ผมและอาจารย์ดาวได้มีโอกาสนำเสนอเกมนี้เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนความเข้าใจและความคล่องเรื่อง ห.ร.ม. กับครูที่ได้สอนจริงในหลายๆท่าน และขอสรุปความต่างที่ได้เห็นจากทั้งสองเกมให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นดังตารางข้างล่าง

game type 02

เกมทั้งสองเกมถูกออกแบบมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของเกม และเกมยังได้สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและเกิดความมั่นใจในการเรียนรู้

game type numblink WM compare

ผมมองว่าให้เกมเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยสร้างอีกมิติในการเรียนรู้ เก็บตกเด็กๆที่อาจจะไม่สนใจการบรรยาย นั่งทำแบบฝึกหัดแบบขยันขันแข็ง แต่พวกเค้าเหล่านั้นก็สามารถเรียนรู้ได้ และเราก็ไม่ได้ทอดทิ้ง หากแต่ปรับให้ห้องเรียนมีความสนุกสนานซึ่งควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ซึ่งบรรยากาศเหล่านี้ถูกสร้างได้แบบเป็นธรรมชาติผ่าน เกม..

“You cannot play a game if you cannot learn it.”

By Artorn Nokkaew

Boardgame review with some spins

เกมกระดานที่เลือกมาพูดถึงนี้ ผู้เขียนได้เล่นแล้วชอบ สนุก เห็นประโยชน์และคุณค่าในเกม และคิดว่าเชื่อมโยงกับบริบทห้องเรียนได้  โดย 3 เกมที่เลือกมา คือ

  • DiXit

  • Barenpark

  • Cytosis

ท้้ง 3 เกมมีความแตกต่างทั้งทางกลไกเกม (mechanism) เรื่องราว (theme) และ ทักษะหรือความรู้ที่เป็นผลพวงจากการได้เล่นเกมเหล่านี้ (skill or learning outcomes)

ทั้งนี้ผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่ boardgame expert แต่อย่างใด แค่เพียงได้ลองเล่น ได้ใช้ ได้ปรับ และได้ตีความ ได้ลองเล่นทุกเกมจริงๆค่ะ แม้บางเกมได้เล่นแค่คร้้งหรือสองครั้ง แต่ก็เห็นข้อดีของมันจนยกให้เป็น top 3 สำหรับไตรมาสแรกของปี  2019

ลองดูนะคะว่าคนชอบเกมจะตีความได้เหมือนกันไหม เห็นต่างได้ค่ะ หรือถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ ลองไปนั่งร้าน boardgame และหามาลองเล่นดูก่อนเอาไปใช้จริงในห้องเรียนนะคะ

 

Slide1


เกมแรก DiXit ใช้บ่อย เล่นบ่อย ใช้กับห้องวิทย์ ห้องคณิต ห้องสังคม ห้องศิลปะก็ได้หมดเลย เป็นเกม warm-up หรือ ice-breaking ได้ดีทีเดียวเลยค่ะ

Slide2Slide3Slide4


มาต่อกันที่เกมที่ 2 นะคะ เราเรียกมันว่า “เกมสวนหมี” ยิ่งเล่นยิ่งชอบ เป็นเกมที่มีความปราณีตสูง ตั้งคำถามได้เยอะดีถ้าเป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์ ลองดูค่ะ

Slide5Slide6Slide7


เกมที่ 3 Cytosis ชอบความเฉพาะเจาะจงของมัน เกมนี้ยังไม่มีแปลไทย อาจจะเล่นยากนิดหน่อย เพราะต้องเข้าใจเนื้อหา cell biology แต่ถ้ากำลังเรียนอยู่ล่ะก็…เหมาะเลยค่ะ

Slide8Slide9Slide10

 

 

แนะนำว่าลองไปเล่นที่ร้านบอร์ดเกมก่อนเอาไปใช้จริงในห้องเรียนนะคะ

ผู้เขียนตีความจากความเข้าใจของตัวเอง เพราะหากเอาไปใช้กับนักเรียนจริงๆอยากให้คุณครูเป็นผู้ประเมินค่ะ ครูรู้จักเด็กๆดีกว่าผู้เขียนแน่นอน และเป็นคนเดียวที่ตอบได้ชัดว่าเกมแนวนี้ฝึกอะไรให้เด็กๆได้ เราตั้งคำถามเพิ่ม สร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้ไหม เป็นเกมฝึกสมอง หรือ สร้างการมีส่วนร่วมหรือวัฒนธรรมการเรียนที่สนุกเป็นไปได้หรือเปล่า ก็ลองดูนะคะ

และจะมาแนะนำเกมอีกเรื่อยๆนะคะ

Slide11

By SupaDaow

 

[หาก] เทคโนโลยีพลิกโฉมการศึกษา ตอน การพัฒนาครู … ชวนคิด

[หาก] เทคโนโลยีพลิกโฉมการศึกษา ตอน การพัฒนาครู … ชวนคิด

จากประสบการณ์การจัดอบรมด้านการจัดการเรียนรู้ให้กับคุณครูระดับประถม และ ระดับมัธยม ทำให้เรียนรู้ว่าคุณครูที่เข้ามาร่วมอบรมมีความเป็นมืออาชีพ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง และมีความตั้งใจจริงในการเข้ารับการอบรม สิ่งที่ครูคาดหวังในการเข้าอบรมคือ กิจกรรมที่สนุก นำไปสู่การเรียน แต่ก็ต้องสามารถนำกลับไปใช้ในชั้นเรียนได้จริง ด้วยอุปกรณ์ที่สามารถจัดเตรียมได้ง่าย

blog-photo-artorn-071718-03

อย่างไรก็ตามรูปแบบการจัดการอบรมส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจริงจังสมกับความตั้งใจของผู้เข้าร่วมอบรม การจัดการเรียนรู้ที่ จัดเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีระบบที่สามารถจัดการคนที่มีความสนใจเดียวกันให้ร่วมกลุ่มพัฒนาตนเองได้ ไม่มีการติดตามผลและพัฒนาอย่างเฉพาะเจาะจงและต่อเนื่อง ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมสังคมในด้านๆ  เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในการพลิกโฉมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างไร

blog-photo-artorn-071718-02

บทความนี้จึงอยากจะเชิญชวนผู้อ่านร่วมคิด ร่วมวิพากษ์แนวทางที่น่าจะเกิดประโยชน์

หาก…. ครูสามารถหาแนวคิดการทำกิจกรรมได้จากของใช้รอบตัว และสามารถเรียนวิธีการจัดการเรียนการสอน ได้โดยที่ไม่ต้องเสียออกมานั่งอบรมล่ะ

หาก… การเรียนรู้ของครูสามารถเกิดได้จริงภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ครูมีเวลาอันจำกัด

หาก… ครูสามารถเรียนรู้แบบนำตนเอง สามารถเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีและการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มของผู้ที่มีความสนใจร่วมกัน

หาก… การพัฒนาตนเองของครูที่เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ จะได้รับการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนา

ถ้าสมมติฐานคือ คำถามข้างบนสามารถแก้ได้โดยเทคโนโลยี เราจะใช้เทคโนโลยีมาทำอะไร

ตามทฤษฎี เทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้ ต้องมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ

  1. เป็นประโยชน์
  2. ใช้งานได้ง่าย

หากมี….เทคโนโลยีใดที่เข้าข่ายลักษณะข้างต้น และทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้

บทความนี้ขอลองนำเสนอแนวคิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพลิกโฉมการพัฒนาครูและการจัดการเรียนรู้

blog-artorn-info asking.jpg

*ข้างต้นเป็นแนวคิดที่นำเสนอเพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อหาโอกาสในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้

ขอเชิญผู้อ่านให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้และพลิกโฉมการศึกษาด้วยเทคโนโลยี

by Artorn Nokkaew

blog-photo-artorn-071718-01

Assessment of Learning Habits

วัดอะไรให้เข้าใจการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

คำถามนี้เริ่มมาจากที่หลายๆสถาบันเริ่มพูดถึง “การเรียนรู้วิธีเรียน (Learning how to learn)” “การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning)” และถ้าหากการวัดประเมินผลด้วย A, B, C, D, F ยังคงอยู่ มันจะวัดอะไร

หากได้ F  แล้ว ต้องทำอย่างไรให้ได้  D และการแก้ปัญหาให้ได้เกรดที่สูงขึ้นนั้นใช่การเรียนรู้วิธีเรียนและแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนหรือไม่

คำถามนี้ทำให้ย้อนนึกถึงวัยเด็กที่เวลาได้เกรดแย่ๆ เราก็มักจะคิดเข้าข้างตัวเองเสมอว่า “ไม่เป็นไร ได้เรียนรู้ก็พอ เกรดเท่าไหร่ก็ช่างเถอะ” คำพูดปลอบใจตัวเองวันนั้น กับการเติบโตในวันนี้ ทำให้ตั้งคำถามว่าเกรดนั้นวัดอะไร

  • content knowledge  เนื้อหาความรู้
  • skill  ทักษะ
  • process  กระบวนการ

หากเราได้เกรดแย่ๆ อยากได้เกรดดีต้องทำอย่างไร อ่านหนังสือมากขึ้น ท่องจำให้หนักขึ้น อ่านคู่มือเกร็งข้อสอบเจ๋งๆ ถามแนวข้อสอบจากรุ่นพี่ เข้าหาอาจารย์เผื่อท่านจะแง้มไรให้เป็นแนวทางบ้าง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ น่าจะมีอย่างน้อยสักแนวทางที่จะทำให้เกรดดีขึ้น แต่เมื่อเปลี่ยนอาจารย์ เปลี่ยนตำรา เปลี่ยนวิชาเป็นวิชาที่ไม่มีคนรอบตัวมีประสบการณ์มาก่อนเลย เราทำยังไงล่ะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เป็นแฟชั่นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่ควรจะเป็นแฟชั่นเพราะไม่ว่ายุคไหน centuryไหนๆ เราก็ควรจะเรียนรู้วิธีเรียน และมันควรถูกส่งเสริมควบคู่ไปกับการวัดผลที่สอดคล้องกัน ไม่ใช่การวัดผลแนวเดิมๆที่อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ความยั่งยืนในการเอาตัวรอดไปตลอดชีวิต

hom measurement blog01

การจะทำให้การเรียนรู้เปลียนหน้าตาจากห้องเรียนสี่เหลี่ยม จากการวัดแค่รู้กับไม่รู้เนื้อหา การสร้าง disruptive assessment หรือ การวัดประเมินหน้าตาใหม่ๆ เป็นอะไรที่น่าลอง

ในฝั่งอเมริการมีนักการศึกษา 2 ท่าน Arthur L. Costa และ Bena Kallick ได้ศึกษาคุณลักษณะนิสัยของคนดังในแวดวงต่างๆ วงการธุรกิจ วงการกีฬา นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน ศิลปิน ที่ประสบความสำเร็จ และได้รวบรวม 16 คุณลักษณะนิสัยของการเรียนและการเป็นผู้นำ ซึ่งทั้ง  16 นิสัยได้รับการขนานนามว่า  16 Habits of Mind (นักการศึกษาไทยแปลคำนี้ว่า “จิตนิสัย” ผู้เขียนขอใช้ตามนะคะ) โดยนักการศึกษาทั้งสองท่านได้เปิดประเด็นปรัชญาที่สอดคล้องกับจิตนิสัยนี้ และเรียกมันว่า Declaration on Education for Life: Creating a Global Groundswell for Real Learning แปลตรงตัวคือ คำแถลงการณ์เรื่องการศึกษาเพื่อชีวิตในประเด็นการสร้างความเห็นตรงกันว่าคือการเรียนรู้ที่แท้จริง

Keywords  น่าสนใจคือคำว่า  “Global Groundswell for Real Learning”  หรือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทั่วโลกเห็นตรงกันในเรื่องการเรียนรู้ที่แท้จริง (Groundswell  คือ การสนับสนุนที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะความคิดเห็นประเด็นสาธารณะ) ซึ่งปรัชญามีถ้อยแถลงที่น่าสนใจหลายข้อ ขอยกมาเล่าเฉพาะบางข้อที่โดนใจนะคะ

  1. Education should prepare all young people to deal well with the real challenges of
    life. It should enable them to deal with tricky situations, learn difficult things, and
    think clearly and ethically about what matters การศึกษาควรเตรียมการเยาวชนให้รู้จักรับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทายในชีวิตได้เป็นอย่างดี และช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ยาก เรียนรู้ความลำบาก และคิดได้อย่างชัดเจนและมีจริยธรรมว่าอะไรที่เกี่ยวข้อง
  2. To flourish in the real world, children need more than literacy, numeracy and knowledge. They need qualities of mind such as curiosity, determination, imagination and self-control. ในการเติบโตอย่างงดงามในโลกของความเป็นจริง เด็กๆต้องการมากกว่าการอ่านออกเขียนได้ ความรู้พื้นฐานด้านการคำนวณ และ ความรู้อื่นๆ เด็กๆต้องการคุณภาพของจิตใจใฝ่รู้ เช่น ความอยากรู้อยากเห็น จินตนาการ และ การรู้จักควบคุมตนเอง 
  3. Children who have discovered the deep pride that comes from crafting and mastering things to the very best of their ability carry their habits of careful thinking and self discipline into the examination hall and onto the playing fields of life. เด็กๆที่ได้ค้นพบความภูมิใจในตนเองที่มาจากความสำเร็จในงานประดิษฐ์ และ การเชี่ยวชาญในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ จะทำให้เค้านำคุณลักษณะนิสัยในการคิดอย่างถี่ถ้วนและมีวินัยในตนเองนี้เข้าไปใช้ในการสอบทุกสนามสอบและใช้ในชีวิตจริงด้วยเช่นกัน

จิตนิสัยแห่งการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นทั้ง  16 ด้านนี้ หากมีการปลูกฝังให้กับผู้เรียนด้วยการบูรณาการกับกิจกรรมในห้องเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม นักการศึกษาทั้งสองท่านเชื่อว่าจะเป็นการเปลี่ยนบทบาทของโรงเรียนไปเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ที่ความคิดและคุณลักษณะนิสัยจะได้รับการสอน ฝึก ให้คุณค่า และผสมผสานไปในวัฒนธรรม”

HOM thai.jpg

16 Habits of Mind ประกอบไปด้วย

  1. Persisting — มุ่งมั่น
  2. Managing Impulsivity — ควบคุมอารมณ์
  3. Listening with Understanding and Empathy — รับฟังด้วยความเข้าใจ
  4. Thinking Flexibly — ยืดหยุ่นทางความคิด
  5. Thinking about Your Thinking — รู้เท่าทันความคิดตน
  6. Striving for Accuracy — บากบั่นเพื่อความแม่นยำ
  7. Questioning and Problem Posing — ตั้งคำถามและจุดประเด็นปัญหา
  8. Applying Past Knowledge to New Situations — ประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
  9. Thinking and Communicating with Clarity and Precision — คิดและสื่อสารอย่างชัดเจนและตรงประเด็น
  10. Gather Data through All Senses — รวบรวมข้อมูลจากประสาทสัมผัสทุกด้าน
  11. Creating, Imagining and Innovating —  สร้างสรรค์ จินตนาการ และ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  12. Responding with Wonderment and Awe — สงสัยใคร่รู้
  13. Taking Responsible Risks — กล้าเสี่ยง
  14. Finding Humors — มีอารมณ์ขัน
  15. Thinking Interdependently — ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  16. Remaining Open to Continuous Learning  — เปิดใจเรียนรู้อยู่เสมอ

ลองอ่านดูทั้ง 16  ข้อ อย่างพิจารณา และลองตอบดูสิว่า

  • TOP 3  และ  BOTTOM 3  ของเราเป็นจิตนิสัยไหน
  • หากเลือกพัฒนาตนเอง จะเลือกพัฒนาจิตนิสัยไหน เพราะอะไร
  • การประเมินตนเองทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงการฝึกสร้างจิตนิสัยที่ดี และจำเป็นต่อการเรียนรู้ การเป็นผู้นำ และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้หรือไม่
  • การประเมินเราจากมุมมองของผู้อื่น ครู ผู้ปกครอง และเพื่อนๆ จะมีประโยชน์ในการสร้างนิสัยการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างไร
  • ผู้เป็นครูที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ จะใช้การประเมินเชิงจิตนิสัยนี้ในการออกแบบห้องเรียนได้อย่างไร

ผู้เขียนได้ลองใช้  Habits of Mind ในการประเมินผู้เรียน และ ให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ได้เห็นความน่าสนใจและการเติบโตที่มีสังคมเป็นปัจจัยและเป็นสิ่งเร้า ใน blog entry หน้า อยากจะเล่าให้ฟังนะคะ

student in class blog.jpg

By SupaDaow

The Bridge between Inexperience and Wisdom

Bridge the gap

ที่มาของการเริ่มต้น

ที่มาของการเริ่มทำอะไรที่คิดว่าแปลกและเปลี่ยน (เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่เคยเจอมา)

ที่มาของการหลงรักในการเติบโตและมองเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (diverse and flexible environment) และตระหนักในสิ่งที่ต้องเรียนรู้ blog post HOM 01.jpg

การเริ่มต้นศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ ได้ถูกศึกษาในเชิงจิตวิทยาที่เกี่ยวพันโดยตรงกับทฤษฎีทางสังคม โดยนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย Vygotsky ที่เชื่อในเรื่องบทบาทสำคัญ ของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อพัฒนาการเรียนรู้ (Vygotsky’s social constructivism, 1978) เมื่อสังคมมีบทบาท ระดับการเรียนรู้จึงถูกแบ่งออกเป็นระดับ

1.  ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Level of Actual Development)

2. ระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Level of Potential Development)

และสองระดับนี้ไม่ได้แนบสนิทกันนัก ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้มีพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ หรือ ZPD (Zone of Proximal Development) ZPD

ความน่าสนใจอยู่ที่เราพัฒนาตัวเองทำให้รอยต่อนั้นแคบลงได้หรือไม่ และทำได้อย่างไร

♦ ขยายพื้นที่ของระดับพัฒนาการที่เป็นจริง?

♦ ลดระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้?

♦ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งผลอย่างไร

เราเริ่มเสพสื่อต่างๆมากมายที่มีสังคมเป็นปัจจัย ผ่านการฟัง การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายรูปแบบ ผ่าน  social media ผ่าน google อิทธิพลของเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และความอยากเรียนและอยากรู้ จนเริ่มที่จะพัฒนาขีดความสามารถและความรับผิดชอบในการควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้นระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Level of Actual Development) ก็ถูกขยับขึ้นได้ไม่ยากนักเมื่อเทียบกับยุคก่อนๆ  เช่นเดียวกันระดับพัฒนาการที่เป็นไปได้ (Level of Potential Development) ก็ถูกลดลงมาให้เอื้อมถึงได้ง่ายขึ้น มี How-to instructional videos มี discussion platform  มีแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้กันมากมาย

ทั้งนี้เทคโนโลยีเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้การนำตนเองเห็นภาพชัดขึ้น ปัจจัยที่สำคัญคือสังคมต่างหาก เพราะสังคมเป็นคนทำให้เทคโนโลยีมีความหมาย สังคมจะเป็นสิ่งเร้า ฟังเค้าเล่าว่า เห็นเค้าทำกัน  ลองทำตามเค้าดู ให้เรานำตนเองไปสู่การเรียนรู้ที่ลดรอยต่อ ZPD

การขยับพื้นที่ ZPD ให้แคบลงด้วยการนำตนเอง (self-regulation) จริงๆแล้วนำตัวเองไปสู่ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) เพราะยิ่งแคบนั่นหมายถึงเราปรับตัวเองจากไม่รู้เป็นรู้ได้อย่างรวดเร็ว

Bridge the gap between what you are now and the goal you intend to reach.

Q: คิดว่าจำเป็นไหมที่ต้องทำให้ ZPD ของเราแคบ และ จำเป็นไหมที่เด็กยุคใหม่ต้องเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (self-regulated learning) ให้เป็น

จะหาคำตอบมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนะคะ

blog bridge making

Bridge the gap between what you are now and the goal you intend to reach.

By SupaDaow